บรรดานักข่าวที่ลุกลี้ลุกลนจะพยายามอย่างที่สุดเพื่อทำให้พวกเขาเองได้ยินเสียงผ่านสายโทรศัพท์ เมื่อสแตน คอลีมอร์ ทำประตูชัยในเกมที่พบกับนิวคาสเซิล ยูไนเต็ด

ชัยชนะ 4-3 ของลิเวอร์พูลเหนือทีมแม็กพายที่แอนฟิลด์ในวันนี้เมื่อ 25 ปีก่อน ถูกจดจำว่าเป็นหนึ่งในเกมพรีเมียร์ลีกที่ยอดเยี่ยมที่สุด

การเผชิญหน้าครั้งประวัติศาสตร์เพื่อเป็นพยานในเกมซึ่งหนักหน่วงมากกับการรายงานข่าวให้ทันกำหนดเวลา

“ผมรับผิดชอบเกมที่ลิเวอร์พูลมา 10 ปี” ริชาร์ด แทนเนอร์ แห่งเดลีย์ มิร์เรอร์ กล่าวกับเว็บทางการของสโมสร “ผมไม่สามารถคิดถึงเกมที่ดีกว่านั้นได้เลย”

มีแค่ว่าแทนเนอร์และเพื่อนร่วมงานที่เหลือของเขาไม่ได้ดูเกมมากนักจริง ๆ ในเวลาสองทุ่ม แน่นอนว่าเป็นอย่างนั้น

กับผลสกอร์ 3-3 กับเวลาที่เหลืออยู่ราว 15 นาที บรรดานักข่าวที่ทำงานอยู่ในเพรสบ็อกซ์ของเมนสแตนด์เก่าจะเริ่มรวบรวมบทนำเพื่อรายงานในเวลาสี่ทุ่มเป็นฉบับพิมพ์ครั้งแรก

พวกเขาน่าจะเริ่มโดยนำไปสู่วิธีการที่นิวคาสเซิลของเควิน คีแกนยังคงควบคุมชะตากรรมของพวกเขาในการแข่งขันแย่งแชมป์ลีก แต่ดูเหมือนจะเริ่มมีความไม่มั่นคงหลังจบเกมที่สุดแสนจะเร้าใจ อย่างไรก็ตาม ผลงานของคอลีมอร์ในช่วงทดเวลาบาดเจ็บได้เปลี่ยนแปลงแผนการเหล่านั้นทั้งหมด

ลิเวอร์พูลยังรักษาความหวังในการคว้าแชมป์ของพวกเขาไว้ แม้ว่าตำแหน่งแชมป์ในฤดูกาล 1995-96 ในตอนนี้จะตกเป็นของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดก็ตาม

ความพยายามจับภาพในเวลานั้นคือข้อสังเกต

“ผมจำได้ว่าผมไม่ได้มีแล็ปท็อป มันต้องทำงานทั้งหมดผ่านทางโทรศัพท์” แทนเนอร์กล่าว “คุณสั่งให้พนักงานปลายสายพิมพ์สำเนา ผมคิดว่ามันมีบางสิ่งที่เรียกว่า แทนดี้ มันเป็นเหมือนแล็ปท็อปยุคริ่มแรก แต่มันไม่มีอินเตอร์เน็ต ดังนั้น คุณไม่สามารถต่ออินเตอร์เน็ตได้”

“เรื่องราวนั้นที่ได้เห็นและพลิกไปมาหลายครั้ง มันเกือบเป็นไปไม่ได้สำหรับการรายงานเกมเพื่อบ่งบอกว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป แย่ที่สุด ฉากฝันร้ายคือประตูในนาทีที่ 92!”

“ผมคิดว่าคนที่ทำรายงานการแข่งขั้นจะทำได้ทางโทรศัพท์เท่านั้น พวกเขาคงจะกรีดร้งทางโทรศัพท์”

“เสียงของฝูงชนไม่ได้เบาลงเล่นหลังเสียงนกหวีดจบเกมกังขึ้น มีความบ้าคลั่งกันอยู่ราว 5 หรือ 10 นาที ขณะที่บรรดานักเตะกำลังออกจากสนามและทุกคนก็กำลังเฉลิมฉลอง มีคนที่กรอกเสียงใส่โทรศัพท์ โดยพูดว่า ‘ดูสิ ฉันต้องเขียนใหม่หมด’ และโดยทั่วไปแล้วก้เปลี่ยนแปลงท่อนกลาง”

“เห็นได้ชัดว่าคุณทำรายงานเกมครึ่งแรกในช่วงครึ่งหลัง สิ่งที่พวกเขาเรียกว่าการปั่นครึ่งเวลา แล้วคุณก็คุ้นเคยที่จะเพิ่มเติมหลังนาทีที่ 75 เป็นเกมในครึ่งหลังซึ่งต่อจากเกมครึ่งแรก”

“จากนั้น คุณก็เติมบทนำลงไป ตอนสกอร์เป็น 3-3 พวกเขาคงคิดว่าปลอดภัยแล้วที่จะเริ่มต้นเขียนตามคำบอก”

แล้วแน่นอนล่ะ ประตูนั้นที่เข้าไป และพวกเขาต่างพูดว่า ‘รอก่อนซักนาที...’ พวกเขาไม่อาจได้ยินคุณได้เลย และคุณก็ไม่อาจได้ยินพวกเขาด้วย ตอนที่เสียงมันดังมาก แม้เมื่อคุณไม่ได้มีเวลา บางครั้งคุณต้องปล่อยให้เสียงเชียร์มันเบาลงก่อนที่จะทำสำเนา เกมเหล่านั้นมันตึงเครียดมาก”

ยังโชคดีสำหรับแทนเนอร์ งานหลักของเขาในคืนนั้น คือ การนำคำพูดจากงานแถลงข่าวหลังเกมของผู้จัดการทีมไปลงหน้าหลัง แต่เขาไม่อาจหลีกหนีความวุ่นวายได้อย่างสิ้นเชิง โดยที่การให้เรตติ้งเกมต้องจัดการให้เสร็จใน 10 ถึง 15 นาทีก่อนเสียยงนกหวีดจะดัง

“การให้เรตติ้งเป็นเรื่องยาก เพราะกับการที่คอลีมองร์ทำประตูชัย คุณอาจต้องเปลี่ยนจากคะแนน 7 เป็น 9 เลยนะ!” เขากล่าวขำ ๆ

“ที่น่าตลกคือ คุณไม่ได้สนุกกับเกมอย่างนั้นเลยจริง ๆ คุณทำบนพื้นฐานความเป็นแฟนฟุตบอลด้วยบุคลิกภาพของคุณ แต่เอาจริง ๆ คุณถูกจำกัดให้ต้องจัดการงานของคุณและมันก็มีกำหนดเวลา”

กำหนดเวลาถัดมา ตามปกติเป็นเวลาราวเที่ยงคืน สำหรับฉบับพิมพ์ครั้งที่สอง ซึ่งเป็นโอกาสให้บรรดานักข่าวมีเวลาอีกเล็กน้อยในการทำความเข้าใจกับความบ้าคลั่ง

แต่เวลาพิเศษที่เกินมาจาก 90 นาทีนั้น ก็อาจจะยังไม่มากพอที่จะเก็บภาพเกมอันสุดพิเศษและความหมายที่แท้จริงของมันได้

“ผมกลับบ้านหลังเกม ทั้งลิเวอร์พูลและเกมอื่น ๆ และคุณรู้สึกแทบจะไม่มั่นใจเลย เพราะคุณอาจจะไม่ได้ติดสนเกมอย่างยุติธรรม” แทนเนอร์ยอมรับ “คุณอาจจะมีเวลามากกว่านี้เพื่อสรรหาคำอื่น ๆ มาให้มากกว่า”

“บางทีอาจจะเหมือนบรรดานักเตะ อะดินาลีนยังไหล่บ่าในตัวคุณไปอีกนาน และคุณก็ยังแบกรับความตื่นเต้น และอะดินาลีนจากสถานการณ์นั้น”

พวกเขาต้องทำในอีกครั้งในการพบกันในฤดูกาลถัดมา ซึ่งเป็นอีกครั้งที่จบลงด้วยผลสกอร์ 4-3